09
MAY
2017

Free radical

Posted By :
Comments : Off

เป็นอะตอมที่ไม่มั่นคงเนื่องจากขาดอิเลกตรอน (ลักษณะประจุไฟฟ้าลบ)ไป 1 ตัว เมื่อผู้ถูกแย่งกลายเป็นตัวปัญหาเพราะตนไม่มั่นคง ก็จะแย่งอิเล็กตรอนโมเลกุลอื่นมาเป็นทอดๆ จนเกิดการรุกลามต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่และไม่สามารถหยุดยั้งได้การ สูญเสีย “อิเล็กตรอน” จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการสูญเสียอิเลกตรอนไม่ได้มีผลต่อสภาพร่างกายมนุษย์เท่านั่น แม้แต่การเกิดสนิมของโลหะก็เกิดขึ้นเพราะมีปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ที่เกิดการสูญเสียอิเลกตรอนจนเกิดการทำปฏิกิริยาเคมีกับอากาศหรือน้ำและเกิด สนิมในโลหะ

อนุมูลอิสระมีที่มาจากทั้งแหล่งภายนอกร่างกาย ได้แก่ มลพิษในอากาศ โอโซน ไนตรัสออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ฝุ่น ควันบุหรี่ อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว น้ำอัดลม และคนที่รับประทานเนื้อสัตว์มากโดยไม่ชอบทานผักและผลไม้ก็จะมีสภาวะความเป็น กรดสูงมาก แม้แต่อารมณ์เครียดและโกรธ ก็จะสร้างภาวะความเป็นกรดในร่างกายได้เช่นกัน

ในทางตรงกันข้ามสารต้านอนุมูล อิสระหรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Anti Oxidant ก็อยู่ในพืชและผักหลายชนิด ได้แก่ ผักใบเขียว (เช่น ตำลึง และผักบุ้ง) หรืออาหารที่มีสีเหลือง (เช่น มะละกอสุก, มะม่วงสุก, มะเขือเทศ, ฟักทอง) รวมถึงอาหารที่มีวิตามิน A, C, E สูง เช่น พืช ผักสีเขียวและผลไม่รสเปรี้ยว ซึ่งอาหารเหล่านี้ให้ฤทธิ์เป็นด่างทั้งสิ้น

สารอาหารอีกหลายชนิดที่สร้างประจุไฟฟ้าได้ด้วย บางทีเราอาจจะต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างเพื่อวัดค่าไฟฟ้าว่าอาหารเหล่านั้นให้ ค่าสุทธิเป็นประจุไฟฟ้าบวกหรือลบที่จะมีการดึงหรือแย่งชิงอิเลกตรอนจากเซลล์ ต่างๆในร่างกายเราหรือไม่ อย่างไร?อุปกรณ์ที่ว่านั้นก็คือเครื่องมือวัดที่ชื่อ Oxidation Reduction Potential หรือค่า ORP เพื่อวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าว่ามีประจุไฟฟ้าสุทธิเป็นบวกหรือลบมากน้อย เพียงใดใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิโวลต์ ซึ่งถ้าน้ำนั้นมีประจุบวกมากๆ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำที่มีสภาพความเป็นกรด) ก็จะเป็นอาหารหรือน้ำประเภทที่เป็น Oxidant ที่จะไปสร้างปฏิกิริยา Oxidation หนุนการทำงานของอนุมูลอิสระมากขึ้นในร่างกายมากขึ้น แต่ถ้ามีประจุไฟฟ้าลบ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำที่มีสภาพความเป็นด่าง) ก็จะเป็นสารอาหารหรือน้ำที่ต้านการทำงานของอนุมูลอิสระได้เช่นกัน

About the Author