Acid and Alkaline : Herman Aihara
ทำไมไข่ที่เกิดจากแม่ ที่ไม่ว่าแม่จะมีอายุเท่าไร ไข่และสเปิร์ม ไม่ได้มีอายุที่เริ่มจากแม่หรือพ่อ แต่เริ่มที่ศูนย์เสมอ นักกายศาสตร์(Physiology) พบว่าไข่และสเปิร์ม ไม่มีความแก่ชราอยู่ในตัวมันเองเลย ทำไมเมื่อผสมกันแล้วเติบโตเป็นอวัยวะ แล้วในที่สุดก็เกิดความเสื่อมชรา และเสียชีวิตในที่สุด
คำถามคือ อะไรที่ทำให้เซลล์เหล่านี้เสียชีวิตลง ?
อเล็ก คารเรล ชาวฝรั่งเศส เขาพบคำตอบ เขาได้ทดลองเก็บเซลล์ของหัวใจของลูกไก่ที่ยังอยู่ในไข่ ไว้ได้นานถึง 28 ปีโดยไม่แก่และไม่ตาย สิ่งที่เขาทำคือการเลี้ยงเซลล์นั้นไว้ในน้ำที่มีสภาพเหมือนเลือดในตัวไก่ เขาเปลี่ยนถ่ายน้ำนี้ทุกวันตลอด 28 ปี เมื่อเขาหยุดลงเซลล์นั้นจึงเสียชีวิต
เซลล์ของเราจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยส่วนประกอบที่สำคัญคือน้ำที่อยู่รอบ เซลล์ถูกควบคุมอย่างเหมาะสมทุกวินาที ชั่วโมงต่อชั่วโมง โดยไม่มีข้อผิดพลาดเลยเซลล์เหล่านี้ก็จะยังคงมีชีวิตอยู่เมื่อถูกนำออกจากร่างกายโดยเก็บไว้ในน้ำที่มีส่วนประกอบเหมือนเลือดมันก็จะยังคงมีชีวิต นักวิทยาศาสตร์เรียกน้ำที่ภายนอกเซลล์นี้ว่า Extracellular fluid หรือ Homeostasis.(Acid and Alkaline :Herman Aihara)
นั่นหมายถึงชีวิตของเราจะเสื่อมลงหรืไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของเหลวภายนอกและภายในเซลล์หากคุณภาพลดลงก็จะมีผลต่อสุขภาพของเซลล์ เปรียบเสมือนปลาที่อยู่ในตู้เลี้ยง ปลาก็คือเซลล์ของเราและน้ำก็คือของเหลวภายในและภายนอกเซลล์ หากเราไม่เปลี่ยนน้ำในตู้สม่ำเสมอของเสียจากตัวปลาและอาหารที่เหลือ จะทำให้คุณภาพของน้ำแย่ลงและในที่สุดจะเน่าและปลาจะตายในที่สุด
สมดุลที่หลงลืม เราต้องการบริโภคแต่สิ่งที่ดีและมีประโยชน์แต่เราลืมสมดุลอย่างหนึ่งคือ
“บริโภค ผลที่ได้คือ พลังงาน(ดี) บวก ของเสีย”
สมดุลนี้เป็นจริงเสมอ ที่เราลืมคือของเสีย ของเสียนี้ต้องถูกกำจัดออกตลอดเวลาไม่อย่างนั้นแล้วภายในของเราก็จะไม่ต่างอะไรกับน้ำในตู้ปลาที่เน่าเสียแล้วเซลล์ก็จะเริ่มตายหรือทนอยู่ในสภาพที่เจ็บป่วยทำงานไม่เต็มที่ แต่เรากลับไปมองหาการรักษาโดยใช้ยาซึ่งเป็นการเติมสารเคมีเข้าไปในร่างกายเราอีก เท่ากับเร่งการเน่าเสียของน้ำในร่างกายหรือในตู้ปลา เรามองข้ามคำตอบที่ง่ายที่สุดนี้อยู่หรือเปล่าคือการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย
ของเสียที่เป็นก๊าซจะถูกกำจัดออกผ่านการหายใจ ของเสียที่เป็นของแข็งหลังการย่อยกำจัดออกทางอุจจาระ ของเสียที่เป็นของเหลวจากภายในเซลล์และนอกเซลล์จะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ